วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การติดตั้งระบบปฎิบัติการ ไดร์เวอร์ และโปรแกรมประยุกต์

ระบบปฏิบัติการ windows 8.1 เวอร์ชั่นด้วยกัน

          1.windows 8.1 for emerging markets



          2.windows  RT 8.1


          3.windows 8.1


         4.windows 8.1 Pro


5.windows 8.1 Enterprise



        ไมโครซอฟต์ได้จัดเตรียมระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต และ 64 บิตให้เลือกใช้ เช่น windows 8.1 pro 32/64 บิต โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันล้วนถูกออกแบบมาให้รองรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต อยู่แล้ว ก็เหลือเพียงแต่เครื่องรุ่นเก่าๆเท่านั้น ที่ยังใช้สภาปัตยกรรมแบบเดิมซึ่งยังเป็นแบบ 32 บิต


       ระบบปฏิบัติการ 64 บิตจะทำงานได้เร็วกว่าระบบ 32 บิต และยังสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นระบบ 32 บิตได้ ขณะที่ระบบ 32 บิตจะไม่สามารถใช้แอปพลิเคชั่นที่ออกแบบสำหรับระบบ 64 บิต
    
      ระบบปฏิบัติการแบบ 64 บิต มีขีดความสามารถในการรองรับรับขนาดหน่อยความจำได้สูงสุดถึง 512 GB ในขณะที่ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต รองรับได้ไม่เกิน 4 GB    

      ไดรเวอร์ คือโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการสื่อสารอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ไดรเวอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถสื่อสารและรู้วิธีจัดการและควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้น

      เมื่อมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้ว จึงสามารถติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ๆด้ตามต้องการ
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

          คู่มือการใช้งาน เป็นเอกสารที่ผู้ผลิตแนบมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ เช่น คู่มือ เมนบอร์ด และ คู่มือซีพียู โดยก่อนลงมือประกอบเครื่องทุกครั้ง ควรอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ในคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งภายในคู่มือนอกจากจะอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่นนั้น แล้ว ยังระบุถึงวิธีการตั้งค่า การติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกวิธีข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ

     ขั้นตอนการประกอบเครื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 11 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

       1.เตรียมเคสคอมพิวเตอร์



       2.ติดตั้งซีพียู


       3.ติดตั้งแผงหน่วยความจำ


       4.ติดตั้งเมนบอร์ดลงในเคส


       5.เชื่อมต่อปลั๊กและสวิตช์ต่างๆ


       6.ติดตั้งฮาร์ดดิสก์


       7.ติดตั้งเครื่องขับดีวีดี


       8.ติดตั้งเครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ (ถ้ามี)

       9.ติดตั้งอะแดปเตอร์การ์ด (ถ้ามี)

       10.ปิดฝาเคส

       11.ทดสอบการใช้งาน


     เนื่องจากการประกอบเครื่องเป็นการดำเนินกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ในระหว่างการดำเนินงานควรเรียนรู้ การป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในระหว่างการประกอบเครื่องได้แก่

     1. ไฟฟ้าสถิต อาจส่งผลการเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบเครื่อง การได้นำอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ ถือเป็นการป้องกันที่ดี

     2. ในการประกอบเครื่องและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีความแข็ง มีน้ำหนัก และมีความคม ดังนั้น ในระหว่างการติดตั้ง ต้องระมัดระวังในเรื่องการครูด หรือการกระแทกบนอุปกรณ์บนเมนบอร์ดอย่างแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อลายวงจรเมนบอร์ดได้

     3. การยึดแผงเมนบอร์ดเข้ากับตัวถังเครื่อง ควรขันสกรูให้พอรู้สึกตึงมือ ไม่ควรขันแน่นจนเกินไป


     4. สายสัญญาณ สายไฟ และขั้วต่อปลั๊กไฟต่างๆ ภายในเคส จะต้องถูกรวบและรัดให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการเข้าไปขัดกับใบพัดของพัดลม และบดบังทิศทางการระบายอากาศ

     5. ระวังอย่าให้มีเศษวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า หล่นอยู่บนเมนบอร์ดในขณะประกอบเครื่อง